SDGs 13

  • วัตถุประสงค์ (Purpose)

                1.1 เพื่อจัดทำมาตรการป้องกันและตรวจตราเหตุอุทกภัยและวาตภัย ภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

                1.2 เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากเหตุอุทกภัยและวาตภัย

                1.3 เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้เป็นอย่างดีที่สุด

                1.4 เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบเหตุอุทกภัยและวาตภัยให้กลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

 

  1. ขอบเขต (Scope)     จัดทำโครงการระบบป้องกันและระบายน้ำท่วม แผนป้องกันอุทกภัยและวาตภัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อใช้กับบุคลากร นักศึกษา และทุกคนที่อยู่ในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีส่วนอาคารสถานที่เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตามแผนป้องกันฯ ฉบับนี้
  1. คำจำกัดความ (Definition)

               3.1  คณะกรรมการศูนย์อำนวยการ หมายถึง คณะผู้บริหาร ที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่อำนวยการ ควบคุมสถานการณ์อุทกภัยและวาตภัยในขั้นรุนแรงและ                           อพยพหนี โดยประกอบด้วย ทีมผจญภัย ทีมไฟฟ้า ทีมยานพาหนะ ทีมสื่อสาร ทีมประชาสัมพันธ์และประสานงานบุคคลภายนอก ทีมจัดหาและสนับสนุน ทีมอำนวย                           การจราจร ทีมรักษาความปลอดภัย ทีมแพทย์และพยาบาล และทีมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

               3.2   ผู้อำนวยการ หมายถึง ผู้บริหารสูงสุดในมหาวิทยาลัย หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่แทน เพื่อทำหน้าที่อำนวยการ สั่งการในการควบคุมสถานการณ์การเกิด                          อุทกภัยและวาตภัย ภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

               3.3  ทีมฉุกเฉินพื้นที่ หมายถึง ผู้นำในการตัดสินใจเพื่อจัดการเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดเหตุในพื้นที่ตลอดเวลาระยะเวลาประสบเหตุ ซึ่งประกอบด้วย

                              –  หัวหน้าในพื้นที่ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ผู้ทำหน้าที่ปฏิบัติการด้านการป้องกันอุทกภัยและวาตภัย และความปลอดภัยอื่นๆ ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้                                        พื้นที่ประจำภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

                              –   ทีมอพยพ หมายถึง ผู้ทำหน้าที่อพยพเคลื่อนย้าย กลุ่มบุคลากร นักศึกษา และผู้ที่อยู่ในพื้นที่ไปยังจุดรวมพล

                              –   ทีมผจญภัยประจำพื้นที่  หมายถึง คณะบุคคล ที่ทางมหาวิทยาลัยแต่งตั้ง เพื่อทำหน้าที่ผจญภัยเมื่อเกิดเหตุอุทกภัยและวาตภัยในพื้นที่

               3.4   จุดรวมพล (Assembly Area) หมายถึง พื้นที่ปลอดภัยซึ่งเป็นที่โล่ง สามารถรองรับการอพยพ การส่งต่อผู้ประสบภัย รวมทั้งทรัพย์สินที่สำคัญเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน                             จุดรวมพลภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สำหรับการรองรับผู้ประสบเหตุควรมีมากกว่าหนึ่งจุด เพื่อเพียงพอและสะดวกต่อการอพยพเคลื่อนย้าย

  1. ข้อมูลทั่วไป

             4.1  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตั้งอยู่เลขที่ 222 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80161 โทรศัพท์ 075 673000 โทรสาร 075 673708

             4.2  ลักษณะโดยรวมของพื้นที่ ผังบริเวณ ระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำอาคารสำนักงาน อาคารเรียนหอประชุม หอพัก รวมถึงอาคารปฏิบัติการ และศูนย์อาหาร                         ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาดใหญ่ มีสนามหญ้า ทุ่งหญ้า ต้นไม้ และแหล่งน้ำอยู่ในบริเวณ

             4.3  มหาวิทยาลัยฯ มีระบบป้องกันน้ำท่วมแบบสร้างคันดินล้อมรอบ (แนวคันไดว์) โดยพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย จะใช้ระบบปั๊มสูบน้ำระบายน้ำออกจากพื้นที่ สำหรับค่า                             ระดับของสิ่งก่อสร้างที่สำคัญของมหาวิทยาลัย มีค่าระดับอ้างอิงดังนี้

                      ระดับ +8.500 จากระดับน้ำทะเลปานกลาง (MSL) ที่ระดับผิวของถนน 4 เลน

                      ระดับ +8.000 จากระดับน้ำทะเลปานกลาง (MSL) ที่ระดับพื้นชั้นล่าง อาคารไทยบุรี

                      ระดับ +7.500 จากระดับน้ำทะเลปานกลาง (MSL) ที่อาคารเรียนรวม 1, 3, 5, 7 กลุ่มอาคารศูนย์เครื่องมือวิทย์ฯ ศูนย์บรรณสารฯ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล หอพัก                                    นักศึกษา (ยกเว้นหอ 1, 2, 3)

                      ระดับ +7.000 จากระดับน้ำทะเลปานกลาง (MSL) ที่อาคารบริหาร สถาบันวิจัย และกลุ่มอาคารวิชาการ

 

             4.4  หากเกิดเหตุสามารถโทรติดต่อที่

                    1) ศูนย์รับแจ้งเหตุ โทร 075 673392 หรือ 075 673396 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

                    2) ศูนย์ซ่อมบำรุง ส่วนอาคารสถานที่ โทร 73900 หรือ 075 673900 (ช่วงเวลาปกติ 08.30 – 16.30 น.)

 

  1. ขั้นตอนการดำเนินงานป้องกันและบรรเทาอุทกภัยและวาตภัย

             5.1 แผนการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดเหตุ

                     5.1.1  แผนการรณรงค์ป้องกันอุทกภัยและวาตภัย  แผนการรณรงค์ป้องกันอุทกภัยและวาตภัย เป็นแผนเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยและวาตภัยในมหาวิทยาลัยโดย                                      เน้นการส่งเสริม สร้างความสนใจ และให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันอุทกภัยและวาตภัยแก่บุคลากร นักศึกษา และทุกคนที่อยู่ภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

                      5.1.2  การดำเนินการโครงการปรับปรุงระบบป้องกันและระบายน้ำท่วม โดยได้มีการปรับปรุงระบบระบายน้ำเพื่อให้สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่มหาวิทยาลัยได้                                       อย่างรวดเร็ว และทำการพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำ เพื่อรองรับปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักและไหลเข้าอ่างเก็บน้ำในช่วงฤดูฝน โดยส่วนอาคารสถานที่ได้ดำเนินการ                                       โครงการปรับปรุงระบบป้องกันและระบายน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย กล่าวโดยสังเขปได้ดังนี้

                                 1) พื้นที่แปลงสวนยาง-แปลงขนุน-ป่าไผ่   

                                       –  ขุดแก้มลิง (แก้มลิงตลาดศุกร์) รับน้ำจากพื้นที่แปลงสวนยาง แปลงขนุน ป่าไผ่เพื่อสูบออก

                                       –  ก่อสร้างสถานีสูบระบายน้ำท่วมจากแก้มลิงตลาดศุกร์ ระบายออกคลองเกียบทางด้านทิศใต้

                                       –  ติดตั้งเครื่องสูบน้ำแบบเครื่องยนต์ 2 เครื่อง ขนาด 1.0 ลบ.ม./วินาที รวมอัตราการระบายน้ำออก 2.0 ลบ.ม./วินาที โดยใช้ปั้มเดิมที่ย้ายมาจากสถานีสูบ                                               ระบายน้ำสวนวลัยลักษณ์มาติดตั้งใช้งานที่จุดนี้

                                  2) งานปรับปรุงแนวถนนคันกั้นน้ำ (แนวคันไดว์) แปลงสวนปาล์ม

                                       –  ถมดินปรับระดับถนน ตามแนวเขตแดนพื้นที่มหาวิทยาลัย (แนวคันไดว์) ระยะทางรวมประมาณ 2.00 กิโลเมตร

                                       –  ระดับคันถนนแนวเขต สูงเท่ากับแนวถนนคันไดว์เดิม (+0.00) เชื่อมต่อจากถนนเดิมตามแนวคลองชลประทาน แปลงสวนปาล์ม ไปจรดแนวเขต                                                           มหาวิทยาลัยด้านทิศตะวันตก

                                       –  ความกว้างคันทาง 3.0 เมตร ความลาดเอียงด้านข้าง Side Slope เท่ากับ 1:2 ห่างจากแนวคลองเกียบประมาณ 2–5 ม.

                                       –  ก่อสร้างคันกั้นน้ำและติดตั้งประตูระบายน้ำที่ทางออกคลองชลประทาน-คลองเกียบ 1 จุด บังคับระดับการเก็บ/ระบายน้ำออกจากพื้นที่แปลงสวนปาล์ม

                                  3) พื้นที่กลุ่มอาคารที่พักบุคลากร วลัยนิวาส 1-10

                                         –  ก่อสร้างสถานีสูบน้ำ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า 2 เครื่อง ขนาด 1.0 ลบ.ม./วินาที/เครื่อง (รวม 2.0 ลบ.ม./วินาที) สูบระบายน้ำออกคลองเกียบ                                                      ด้านทิศตะวันออก

                                         –  ก่อสร้างคูระบายน้ำคอนกรีตเพิ่มเติมเชื่อมต่อกับคูระบายน้ำคอนกรีตเดิม ในบริเวณกลุ่ม ที่พักบุคลากรวลัยนิวาส 1-3 เพื่อระบายน้ำลงแก้มลิงหลัง                                                        วลัยนิวาส 4

                                         –  ขุดแต่งคูระบายน้ำโดยรอบของกลุ่มวลัยนิวาส 7-10 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำออกจากพื้นที่กลุ่มบ้านพักบุคลากร (บ้าน 100 หลัง) ไหลออก                                                ไปยังแก้มลิงหลังวลัยนิวาส 4

                                         –  ขุดวางท่อระบายน้ำลอดถนนเพิ่ม 1 แนว เชื่อมต่อคูระบายน้ำจากกลุ่มวลัยนิวาส 7-10 และแปลงปลูกขนุน มายังแก้มลิงหลังหอพักวลัยนิวาส 4

                                  4) พื้นที่เขตการศึกษาชั้นใน (รอบถนนสี่เลน)

                                          –  ติดตั้งปั้มไฟฟ้า 2 เครื่อง (อัตราการสูบ 2 ลบ.ม./วินาที/เครื่อง) และปั้มเครื่องยนต์ 1 เครื่อง (อัตราการสูบ 1 ลบ.ม./วินาที/เครื่อง) รวมอัตราการสูบ                                                     ระบายน้ำออก 5.0 ลบ.ม./วินาที  ทั้ง 2 จุด (สถานีสูบน้ำแก้มลิงกล้าดี และ สถานีสูบน้ำวิชาการ 9 (วังหมาก))

                                  5) พื้นที่เขตกลุ่มหอพักนักศึกษา

                                        –  ติดตั้งปั้มเครื่องยนต์ จำนวน 2 เครื่อง อัตราการสูบ 1 ลบ.ม./วินาที/เครื่อง รวมอัตราการสูบได้ 2 ลบ.ม./วินาที ณ สถานีสูบน้ำแก้มลิง อาคารหอพัก                                                     นักศึกษาลักษณานิเวศ 1

                                  6) พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 2 (สวนวลัยลักษณ์)

                                        –  ติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า เพิ่มเติม 2 เครื่อง ขนาด 2.0 ลบ.ม./วินาที/เครื่อง (รวมกับของเดิมสูบได้ 8 ลบ.ม./วินาที)

                                        –  ย้ายปั้มเครื่องยนต์เดิมออก 2 เครื่อง เพื่อนำไปติดตั้งใช้งานที่แก้มลิงตลาดศุกร์ (แปลงสวนยาง)

                                  7) พื้นที่แปลงทุเรียน (รับน้ำมาจากบ้านพักรับรอง)

                                        –  วางท่อระบายน้ำ คสล.ขนาด 120 ซม. จำนวน 1 แถว ที่ทางเข้าโรงผลิตน้ำประปา เพื่อระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำ 1 แยกจากทางระบายน้ำเดิมของ                                                       แปลงทุเรียน

                                        –  วางท่อระบายน้ำ คสล.ขนาด 120 ซม. จำนวน 2 แถว บริเวณทางแยกโคกเหล็ก เพื่อแยกการระบายน้ำจากแปลงทุเรียนและน้ำที่มาจากอ่างเก็บน้ำ 1

                                        –  ขุดเชื่อมต่อแนวคูระบายน้ำ เพื่อปรับทิศทางการระบายน้ำในพื้นที่แปลงสวนทุเรียน และปิดท่อลอดระบายน้ำถนนเข้าสวนทุเรียน

                                  8) โครงการชลประทานแก้มลิงศูนย์การแพทย์

                                          –  ถมดินแนวคันไดว์เขตมหาวิยาลัยด้านทิศใต้ ตลอดแนวคลองเกียบ-คลองสาน

                                          –  ถมดินปรับระดับถนน ตามแนวเขตแดนพื้นที่มหาวิทยาลัย (แนวคันไดว์) ระยะทางรวมประมาณ 2.6 กม.

                                          –  ระดับคันถนนแนวเขต สูงเท่ากับแนวถนนคันไดว์เดิม (+0.00) โดยเชื่อมต่อจากทางแยกถนนวัดคลองดิน ไปจรดแนวเขตมหาวิทยาลัย                                                                         ด้านทิศตะวันออกที่จุดก่อสร้างแก้มลิงชลประทาน

                                          –  ความกว้างคันทาง 3.0 เมตร ความลาดเอียงด้านข้าง Side Slope เท่ากับ 1:1 ห่างจากแนวคลองเกียบ-คลองสาน ประมาณ 2–5 ม.

                                          –  ขุดแก้มลิงโครงการอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทานหลังศูนย์การแพทย์ ขนาดความจุ 2,000,000 ลบ.ม. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่                                               ชุมชนหลังศูนย์การแพทย์ และพื้นที่วัดแสงแรง ตลอดจนใช้เป็นอ่างกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคของมหาวิทยาลัยและชุมชนรายรอบ                                                             มหาวิทยาลัย

                                          –  ขุดคูระบายน้ำรอบพื้นที่เอกชน 114 ไร่ และขุดคูระบายน้ำรอบวัดแสงแรง เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่ไปยังคลองสาน ลดปัญหาน้ำท่วมขังใน                                                              ช่วงฤดูน้ำหลาก

                                  9) ปรับปรุงแนวคันไดว์ทางด้านทิศตะวันตก

                                        –  แต่งแนวคันไดว์ทางด้านทิศตะวันตก เชื่อมต่อจากแนวคันไดว์ที่คลองเกียบมายังคลองตูล เพื่อป้องกันน้ำท่วมแนวเขตศูนย์สมาร์ทฟาร์มด้าน                                                               ทิศตะวันตก (แนวชุมชนสาธิต)

                                                      ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ขอความอนุเคราะห์แขวงทางหลวงชนบท จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้สำรวจออกแบบ และเสนอของบประมาณ                                                เพื่อดำเนินการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก บนเส้นทางสายสามแยกโคกเหล็กไปยังชุมชนสาธิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ต้นซอย 8) โดยใน                                                เบื้องต้นทางส่วนอาคารสถานที่ได้สำรวจและร่างแบบของสะพาน เพื่อเป็นข้อมูลให้กับแขวงทางหลวงชนบทนครศรีธรรมราช

                     5.1.3  แผนการอบรม     มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความมุ่งมั่นที่จะให้ความรู้กับพนักงาน ทั้งในเชิงป้องกันและปฏิบัติการเมื่อเกิดเหตุอุทกภัยและวาตภัย ซึ่งการเกิด                                    เหตุแต่ละครั้งนำมาซึ่งความสูญเสียต่อการดำเนินงานทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเสียหาย การบริการหยุดชะงัก หรืออาจถึงขั้นมีผู้ที่ได้รับ                                      บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ดังนั้น ในการป้องกันและลดความเสี่ยงด้านอุทกภัยและวาตภัย จึงจำเป็นต้องจัดให้มีแผนการอบรมแก่บุคลกากรและนักศึกษาที่เกี่ยวข้อง

                     5.1.4  แผนซักซ้อมการป้องกันอุทกภัยและวาตภัย   หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ซึ่งประกอบด้วย ส่วนอาคารสถานที่ ส่วนบริการกลาง ส่วนภูมิสถาปัตยกรรม และโครงการ                                  พัฒนาระบบบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย ขยะอันตรายและขยะทั่วไป จัดให้มีการซักซ้อมแผนป้องกันอุทกภัยและวาตภัย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

                     5.1.5 แผนการตรวจตรา    แผนการตรวจตรากำหนดขึ้นเพื่อเป็นการตรวจป้องกันและตรวจความพร้อมอุปกรณ์สำหรับการป้องกันกรณีการเกิด ได้แก่

                                     1)  การตรวจตราความปลอดภัยทั่วไป   ดำเนินการตรวจความปลอดภัยเป็นระยะ (Safety Inspection) โดยหน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ และรายงานให้                                             ผู้บังคับบัญชาทราบเพื่อดำเนินการตามขั้นตอน

                                     2) การตรวจตราระบบระบายน้ำและอุปกรณ์สำหรับป้องกันน้ำท่วมและระบายน้ำฝนให้ใช้งานได้    การตรวจตราระบบระบายน้ำและเครื่องมือ                                                    อุปกรณ์ให้มีความพร้อมในการใช้งาน ได้แก่ ปั๊มสูบน้ำที่สถานีต่างๆ คูคลองระบายน้ำ บริเวณบ่อพักน้ำ ที่ที่จะระบายน้ำสู่คลองสาธารณะ เป็นต

Facebook Comments Box